สวัสดีค่า สำหรับใครที่คิดจะผ่อนรถยนต์ต้องอ่านค่ะ บทความนี้จะอธิบายถึงวิธีการคำนวณยอดจัดไฟแนนซ์ด้วยตัวเองแบบง่ายๆ จะมีอะไรบ้างที่น่าสนใจวันนี้ GCSC จะพาไปดูค่ะ โดยปกติราคารถยนต์ในตลาดของรถมือสอง ก็มีหลายราคาที่แตกต่างกันออกไป โดยมีปัจจัยของราคาเหล่านี้ ก็มีหลายปัจจัยนะคะที่จะส่งผลต่อ การคำนวนหาราคายอดจัดไฟแนนซ์ แต่สมัยนี้ไฟแนนซ์ หรือ สถาบันการเงินหลายๆที่ ก็จะมีรูปแบบการคำนวนที่เป็นมาตรฐานอยู่ และเป็นบรรทัดฐานในการช่วยคำนวณ เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ที่ซื้อรถยนต์มือสองจะได้ทราบว่าต้องใช้จำนวนเงินเท่าไรในการออกรถ โดยวันนี้ GCSC ได้รวบรวมปัจจัยต่างๆที่มีผลต่อการคำนวนหายอดจัดไฟแนนซ์รถยนต์ มาดูกันได้เลยค่ะ
.
.
ก่อนอื่นเราต้องมารู้จักคำว่า ยอดจัดไฟแนนซ์ คืออะไร ?
.
ยอดจัดไฟแนนซ์ ก็คือ จำนวนวงเงินที่ทางสถาบันการเงิน หรือ ไฟแนนซ์จะปล่อยให้ ผู้กู้ นั่นแหละค่ะ โดยเค้าจะคำนวณจากปัจจัยหลายๆอย่าง ซึ่งอาจจะอนุมัติให้เต็มจำนวนของราคารถ หรือ อาจจะ ไม่เต็มจำนวนก็ได้ค่ะ ขึ้นอยู่กับการประเมิณ สถานะทางการเงินของผู้กู้ (ยอดตรงนี้ไม่รวมกับเงินดาวน์รถยนต์นะคะ)
.
ยกตัวอย่างเช่น นาย A ต้องการซื้อรถมือสองราคา 300,000 บาท และได้ทำการวางเงินดาวน์ไป 10% นั่นก็คือ 30,000 บาท ดังนั่นยอดจัดไฟแนนซ์ ก็คือ 270,000 บาท ที่ทางสถาบันการเงิน หรื ไฟแนนซ์ จะอนุมัติให้แก่ผู้ขอสินเชื่อ ซึ่งทาง สถาบันการเงินนี้ จะอนุมัติให้ เต็มจำนวน 270,000 บาท หรือไม่ถึงจำนวนนี้ก็ได้ ดังนั้นผลลัพธ์อาจจะออกมาเป็นเคส ดังนี้
.
เคสที่ 1
สถาบันการเงินอนุมัติวงเงินให้เต็มยอดจัดไฟแนนซ์ของรถมือสอง คือ 270,000 บาท
.
เคสที่ 2
สถาบันการเงินอนุมัติวงเงินได้ไม่เต็มยอดจัด เช่น ให้ได้แค่ 250,000 บาท ผู้ขอสินเชื่อจึงอาจต้องเพิ่มเงินดาวน์ในส่วนนี้
.
เคสที่ 3
สถาบันการเงินอนุมัติวงเงินได้เกินยอดที่จัด เช่น ให้เต็มราคารถ 300,000 บาท กรณีนี้ผู้ซื้อรถยนต์ ไม่จำเป็นต้องวางเงินดาวน์เลยสักบาทเดียวค่ะ หรือไฟแนนซ์อาจให้วงเงินกู้เกินราคารถ เช่น 320,000 บาท ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับเงื่อนไข ปัจจัยต่าง ๆ ที่ทำให้มีผลต่อการพิจารณาวงเงิน ซึ่งทาง GCSC ได้รวบรวมมาดังนี้ค่ะ
.
.
1. ยี่ห้อรถยนต์
หลายๆคนสงสัยว่า แล้วยี่ห้อเกี่ยวอะไรด้วย ขอตอบตรงนี้เลยค่ะว่าเกี่ยว เนื่องจากว่า ถ้าเป็นรถที่ตลาดนิยมใช้กัน เป็นยี่ห้อแบรนด์ดังๆ ก็มีโอกาสมากที่ทางสถาบันการเงินจะอนุมัติยอดจัดให้ได้วงเงินที่ดี เนื่องจากว่า ทางสถาบันการเงินก็มองถึงความเสี่ยงของตัวเอง ในกรณีที่ ผู้ขอสินเชื่อ ผ่อนไม่ไหว ทาง สถาบันการเงินก็จะได้สามารถยึดทรัพย์สินนี้ เอาไปขายทอดตลาดได้ราคา ที่จะเป็นหลักประกันให้ทางสถาบันการเงินได้ดีกว่า ยี่ห้อรถยนต์ที่ตลาดไม่ค่อยเล่น
.
.
2. รุ่น และ โฉมของรถยนต์
เหตุผลข้อนี้ก็คล้ายๆกับที่กล่าวมาในข้อแรกค่ะ แม้ว่ายี่ห้อจะนิยม ถ้ารุ่น และ โฉม ไม่นิยม ก็ไม่ได้ราคา ทางสถาบันการเงินก็อนุมัติวงเงินได้ต่ำค่ะ ถ้าในรุ่นนั้น มีโฉมที่ให้ออปชั่นดีกว่า ก็อาจจะมีราคาที่สูงกว่า โดยท่านสามารถตรวจสอบ รุ่น ได้ที่เล่มทะเบียนรถ หรือพิจารณาจากส่วนประกอบของรถที่มีการปรับเปลี่ยนเช่น ไฟหน้า กระจังหน้า เป็นต้น
.
.
3. ปีที่จดทะเบียนของรถยนต์
ถ้าเป็นรุ่นที่ไม่เก่ามาก ความเสี่ยงของสถาบันการเงินก็น้อยค่ะ เราก็มีโอกาสที่จะได้ วงเงินที่ ดี และ ดอกเบี้ยที่ราคาถูก ท่านสามารถตรวจสอบปีของรถยนต์ โดยดูวันที่จดทะเบียนของรถเป็นหลักจากเล่มทะเบียน เพื่อคำนวณเบื้องต้นด้วยตัวเองได้เลยค่ะ
.
.
4. ระบบเกียร์เป็นแบบไหน
แน่นอนว่า เกียร์อัตโนมัติ หรือ เกียร์ออโต้ ขายได้ราคามากกว่า เกียร์ธรรมดา ทางสถาบันการเงินก็มองว่า ขายได้ราคาดีกว่า ถ้าจะยึด ไปขายทอดตลาด
.
.
5. สภาพรถยนต์
ข้อนี้เรียกได้ว่าเป็นหัวใจ แม้ว่า จะเป็นรถยี่ห้อที่นิยม รุ่น สี ปี โฉม ดีแค่ไหน หากสถาพรถเหมือนเอาไปออกสงครามมา ทางสถาบันการเงินก็จะตีราคาให้ต่ำแน่นอนอยู่แล้วค่ะ แต่ถ้าเป็นรถรุ่นเก่า สภาพดี ก็อาจจะตีราคาได้เต็มจำนวนก็ได้ค่ะ โดยดูปัจจัยหลายๆด้านประกอบกัน
.
.
จากทุกข้อที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่า สถาบันการเงิน หรือ ไฟแนนซ์กำลังทำงานอยู่กับความเสี่ยงนะคะ ดังนั้นจะมีเรื่องของ ความเสื่อม เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ดังนั้น เราที่เป็นผู้ซื้อ จะต้องตัดสินใจดีๆหากจะเลือกรถยนต์คู่ใจสักคัน เพื่อประโยชน์สูงสุดของตัวเราเอง